วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์,กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการประมวลผลจากข้อมูลทีได้รับเข้าไป โดยมีคำสั่งให้ทำงานตามต้องการ และแสดงผลที่ประมวลออกมา คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้
 
 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
     หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตา และสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น
     ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน คือ
      หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูล คำสั่ง จากอุปกรณ์ส่งไปยังส่วนประมวลผลต่อไป อุปกรณ์ที่ใช้รับข้อมูลได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องอ่านแผ่นดิสก์ เครื่องอ่านแผ่นซีดี ฮาร์ดดิสก์
      หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่รับเข้ามาตามคำสั่ง อุปกรณ์ที่ในการประมวลผลคือ ซีพียู
      หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ของการประมวลผลตามคำสั่งต่างๆ จากส่วนประมวลผล อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผล ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
     หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) ทำหน้าที่เป็นส่วนเก็บรักษาโปรแกรม และข้อมูลที่บันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อต้องการเรียกใช้ก็นำออกมาแสดงผลได้ อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์ แผ่นซีดี แฟลชไดร์ฟ เมมโมรี่การ์ด เป็นต้น 
 
 ซอฟท์แวร์ (Software)
     หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้   เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 
     ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software) หรือระบบปฏิบัติการ คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง สามารถทำงาน    ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีคือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities    ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
    ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนก ได้เป็น 2 ประเภท คือ
      
1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการบางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
        2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงาน ที่ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมต่างๆ เป็นต้น
    คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็น   กระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลัก คือ หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input) หน่วยความจำ (Memory หน่วยประมวลผลข้อมูล (Process) และหน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output) ซึ่งมีกระบวนการขั้นตอนการทำงานดังนี้
 
 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input)
     เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูล ที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่องถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิก (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพหรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น
     เมื่อผู้ใช้ต้องการทำงานใดๆ ก็ตามไม่ว่าจะป้อนข้อมูล เปิด-ปิดโปรแกรม การเลือกคำสั่ง การสั่งแสดงผลข้อมูล ผู้ใช้ต้องป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ในส่วนนำเข้า เช่นใช้เมาส์เพื่อเลือกคำสั่งในการเปิดโรแกรม หรือพิมพ์งานด้วยแป้นพิมพ์ เป็นต้น
 หน่วยความจำ (Memory)
     หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดียว แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำมากกว่าอย่างอื่น
    สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด     และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือ    แฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้
     สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (Auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่
 หน่วยประมวลผลข้อมูล (Process)
     เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น จากนั้นจะส่งผลไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำหลัก และให้หน่วยแสดงผลลัพธ์ต่อไป 
 หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output)
     เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงผล ให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งข้อมูลที่แสดงออกมา อาจอยู่ในรูปแบบของรายงาน ภาพ แผนภูมิ ตาราง ซึ่งแล้วแต่ผู้ใช้จะสั่งงาน โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) ก่อน แล้วจึงสั่งพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์
 
 
 
 
 



**ขอขอบคุณ**

ความหมายของคอมพิวเตอร์,อุปกรณ์หลักของคอพิวเตอร์


 
:: ยินดีต้อนรับ ::


    คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่มนุษย์สร้างและพัฒนาขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการทำงานที่ซับซ้อน หรือมีจำนวนมากให้เสร็จอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
     คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์

    คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่อง และสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้

     อุปกรณ์พื้นฐานที่ประกอบกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่

 จอภาพหรือมอนิเตอร์ (Monitor)
     มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์ มีจอสำหรับแสดงผลเป็นข้อความหรือภาพ ทำให้เรามองเห็นตัวหนังสือ และตัวเลขที่พิมพ์ลงไปหรือภาพต่างๆ ได้
 แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard)
     เป็นแท่นมีปุ่มตัวหนังสือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆ เมื่อกดปุ่มใดข้อมูลที่ปุ่มนั้นจะถูกป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วไปปรากฏบนจอภาพ
 เมาส์ (Mouse)
     เป็นอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับเลื่อนตัวชี้เมาส์หรือเคอร์เซอร์หรือลูกศรที่ปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์ มักใช้คู่กับแผ่นรองเมาส์ เป็นแผ่นพลาสติกเรียบ ใช้สำหรับรองเมาส์ให้เลื่อนไปมาได้สะดวก


 หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Control Processing Unit หรือ CPU)
     เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งจากโปรแกรม ซึ่งอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะรวบรวมข้อมูลตามคำสั่งมาคิดคำนวณแล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ
 
 เครื่องอ่านแผ่นดิสก์ (Disk Drive)
     เป็นช่องสี่เหลี่ยมสำหรับใส่แผ่นดิสก์ ใช้อ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ในแผ่นดิสก์และบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์

 

 เครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-Rom Drive)
     เป็นช่องสี่เหลี่ยมสำหรับใส่แผ่นซีดีรอม มักบรรจุอยู่ส่วนบนของกล่องซีพียูเคส (CPU Case) เครื่องขับแผ่นซีดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ      CD-R Drive ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้อย่างเดียว      CD-RW Drive สามารถใช้อ่านและเขียนบันทึกข้อมูลลงในแผ่นซีดีได้

 เครื่องพิมพ์ (Printer)      เป็นอุปกรณ์ทีเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงผลภาพหรือข้อความที่ปรากฏบนจอภาพ และพิมพ์ออกมาในรูปแบบของแผ่นกระดาษ เครื่องพิมพ์ในปัจจุบันมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมีประสิทธิภาพในการใช้งานแตกต่างกัน

 ลำโพง (Speaker)
     เป็นอุปกรณ์ทีเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยผ่านทางการ์ดเสียง ทำหน้าที่แสดงผลสัญญาณเสียงภายในคอมพิวเตอร์ออกมาให้เราได้ยิน
            


**ขอขอบคุณ**
ข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/node/18236